เมนู

แล้ว นั่งเถิด. ถ้าไม่มีโอกาส พวกชาวบ้านปูลาดอาสนะถวายตรง
ท่ามกลางธัญชาตินั้นเอง พึงนั่งเถิด. แม้ในธัญชาติที่อยู่บนเรือ ก็มีนัย
อย่างนี้เหมือนกัน. แม้อปรัณชาติมีถั่วเขียวและถั่วเหลืองเป็นต้นก็ดี ผลไม้
มีตาลและขนุนเป็นต้นก็ดี ที่เกิดในที่นั้น ภิกษุไม่ควรจับเล่น. แม้ใน
อปรัณชาติและผลไม้ที่ชาวบ้านรวมกองไว้ ก็มีนัยเช่นนี้ เหมือนกัน. แต่
การที่ภิกษุจะถือเอาผลไม้ที่หล่นจากต้นในป่า ด้วยตั้งใจว่า จักให้แก่
พวกอนุปสัมบัน ควรอยู่.

[ว่าด้วยรัตนะ 10 ประการ]


บรรดารัตนะ 10 ประการเหล่านี้ คือ มุกดา มณี ไพฑูรย์ สังข์
ศิลา ประพาฬ เงิน ทอง ทับทิม บุษราคัม มุกดาตามธรรมชาติ
ยังไม่ได้เจียระไนและเจาะ ภิกษุจะจับต้องได้อยู่ อาจารย์บางพวกกล่าวว่า
รัตนะที่เหลือ เป็นอนามาส แต่ในมหาปัจจรีท่านกล่าวว่า มุกดา ที่
เจียระไนแล้วก็ดี ที่ยังไม่เจียระไนก็ดี เป็นอนามาส และภิกษุรับเพื่อ
ประโยชน์เป็นมูลค่าแห่งสิ่งของ ย่อมไม่ควร แต่จะรับเพื่อเป็นยาแก่คน
เป็นโรคเรื้อน ควรอยู่. มณีชนิดสีเขียวและเหลืองเป็นต้น แม้ทั้งหมด
โดยที่สุดจนกระทั่งแก้วผลึกธรรมชาติที่เขาขัด เจียระไนและกลึงแล้ว เป็น
อนามาส. แต่มณีตามธรรมชาติพ้นจากบ่อเกิด ท่านกล่าวว่า ภิกษุจะรับ
เอาไว้เพื่อเป็นมูลค่าแห่งสิ่งของมีบาตรเป็นต้น ก็ควร. แม้มณีนั้น ท่าน
ห้ามไว้ในมหาปัจจรี. กระจกแก้ว ที่เขาหุงทำไว้อย่างเดียวเท่านั้น ท่าน
กล่าวว่า ควร. แม้ในไพฑูรย์ ก็มีวินิจฉัยเช่นเดียวกันกับแก้วมณี. สังข์

จะเป็นสังข์สำหรับเป่า (แตรสังข์) ก็ดี ที่เขาขัดและเจียระไนแล้วก็ดี ประดับ
ด้วยรัตนะ (ขลิบด้วยรัตนะ) ก็ดี เป็นอนามาส. สังข์สำหรับตักน้ำดื่ม
ที่ขัดแล้ว ก็ดี ยังมิได้ขัดก็ดี เป็นของควรจับต้องได้แท้. อนึ่ง รัตนะที่
เหลือ ภิกษุจะรับไว้ เพื่อใช้เป็นยาหยอดตาเป็นต้นก็ดี เพื่อเป็นมูลค่า
แห่งสิ่งของก็ดี ควรอยู่.
ศิลา ที่ขัดและเจียระไนแล้ว ประดับด้วยรัตนะมีสีเหมือนถั่วเขียว
เท่านั้น เป็นอนามาส. ศิลาที่เหลือ ภิกษุจะถือเอามาเพื่อใช้เป็นหิน
ลับมีดเป็นต้น ก็ได้. ในคำนี้ อาจารย์บางพวกกล่าวว่า บทว่า รตนสํยุตฺตา
ได้แก่ ศิลาที่หลอมผสมปนกับทองคำ.
แก้วประพาฬที่ขัดและเจียระไนแล้ว เป็นอนามาส. ประพาฬ
ที่เหลือเป็นอามาส (ควรจับต้องได้) และภิกษุจะรับไว้ เพื่อใช้จ่ายเป็น
มูลค่าแห่งสิ่งของ ควรอยู่. แต่ในมหาปัจจรีกล่าวว่า ประพาฬที่ขัดแล้ว
ก็ตาม มิได้ขัดก็ตาม เป็นอนามาสทั้งนั้น และจะรับไว้ไม่สมควร.
เงินและทอง แม้เขาทำเป็นรูปพรรณทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นอนามาส
และเป็นของไม่ควรรับไว้ จำเดิมแต่ยังเป็นแร่. ได้ยินว่า อุดรราชโอรส
ให้สร้างพระเจดีย์ทองส่งไปถวายพระมหาปทุมเถระ. พระเถระห้ามว่า
ไม่ควร ดอกปทุมทองและดาวทองเป็นต้น มีอยู่ที่เรือนพระเจดีย์, แม้
สิ่งเหล่านั้นก็เป็นอนามาส แต่พวกภิกษุผู้เฝ้าเรือนพระเจดีย์ตั้งอยู่ในฐาน
เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ภิกษุเหล่านั้นจะลูบคลำดู
ก็ควร. แต่คำนั้น ท่านห้ามไว้ในกุรุนที. ท่านอนุญาตเพียงเท่านี้ว่า
จะชำระหยากเยื่อที่พระเจดีย์ทองควรอยู่. ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาทั้งปวง

ว่า แม้โลหะที่กะไหล่ทอง* ก็มีคติทองคำเหมือนกัน จัดเป็นอนามาส.
ส่วนเครื่องใช้สอยในเสนาสนะ เป็นกัปปิยะทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น เครื่อง
บริขารประจำเสนาสนะ แม้ทุกอย่างที่ทำด้วยทองและเงิน เป็นอามาส
(ควรจับต้องได้). พวกชาวบ้านสร้างมณฑปแก้ว เป็นสถานที่แสดงพระ-
ธรรมวินัยแก่ภิกษุทั้งหลาย มีเสาแก้วผลึก ประดับประดาด้วยพวงแก้ว.
การที่ภิกษุทั้งหลาย จะเก็บรักษาเครื่องอุปกรณ์ทั้งหมดในรัตนมณฑปนั้น
ควรอยู่.
ทับทิมและบุษราคัม ที่ขัดและเจียระไนแล้ว เป็นอนามาส ที่ยัง
ไม่ได้ขัดและเจียระไนนอกนี้ ท่านกล่าวว่า เป็นอามาส ภิกษุจะรับไว้
เพื่อใช้เป็นมูลค่าแห่งสิ่งของ ควรอยู่. แต่ในมหาปัจจรีกล่าวว่า ทับทิม
และบุษราคัมที่ขัดแล้วก็ดี ที่ยังมิได้ก็ดี เป็นอนามาส โดยประการ
ทุกอย่าง และภิกษุจะรับไว้ ไม่ควร.
เครื่องอาวุธทุกชนิด เป็นอนามาส แม้เขาถวาย เพื่อประโยชน์
จำหน่ายเป็นมูลค่าแห่งสิ่งของก็ไม่ควรรับไว้ ชื่อว่า การค้าขายศัสตรา
ย่อมไม่สมควร. แม้คันธนูล้วน ๆ ก็ดี สายธนูก็ดี ประตักก็ดี ขอช้าง
* วิมติวิโนทนีฏีการ. อารกูฏโลหนฺติ สุวณฺณวรฺโณ กิตติมโลหวิเสโส. ติวิธญฺหิ กิตฺติมโลหํ
กํสโลหํ วฏฏโลหํ หารกูฏโลหนฺติ ตตฺถ ติปุตมฺเพ มิสฺเสตฺวา กตํ กํสโลหํ นาม. แปลว่า โลหะเทียม
มิสฺเสตฺวา กตํ วฏฺฏโลหํ. รสตมฺเพ มิสฺเสตฺวา กตํ หารกูฏโลหํ นาม แปลว่า โลหะเทียม
พิเศษมีสีเหมือนทองคำ ชื่อว่า อารกูฏโลหะ. ก็ โลหะทำเทียมมี 3 อย่าง คือ กังสโลหะ
วัฏฏโลหะ หารกูฏโลหะ. บรรดาโลหะเหล่านั้น โลหะที่เขาผสมดีบุก และทองแดง ชื่อว่า
กังสโลหะ. ที่เขาทำผสมตะกั่วและทองแดง ชื่อว่า วัฏฏโลหะ. ที่เขาทำ ผสมปรอทและทองแดง
ชื่อว่า หารกูฏโลหะ. แม้ในสารัตถทีปนี 3/35 ก็ขยายความโดย ทำนองนี้-ผู้ชำระ. น่าจะเป็น
สัมฤทธิ์.

ก็ดี โดยที่สุดแม้มีดและขวานเป็นต้น ที่เขาทำโดยสังเขปเป็นอาวุธก็เป็น
อนามาส. ถ้ามีใคร ๆ เอาหอก หรือโตมรมาวางไว้ในวิหาร เมื่อจะชำระ
วิหาร พึงส่งข่าวไปบอกแก่พวกเจ้าของว่า จงนำไปเสีย. ถ้าพวกเขา
ไม่นำไป อย่าให้ของนั้นขยับเขยื้อน พึงชำระวิหารเถิด. ภิกษุพบเห็น
ดาบก็ดี หอกก็ดี โตมรก็ดี ตกอยู่ในสนามรบ พึงเอาหินหรือของอะไร ๆ
ต่อยดาบเสียแล้ว ถือเอาไปเพื่อใช้ทำเป็นมีดควรอยู่. ภิกษุจะแยกแม้ของ
นอกนี้ออกแล้ว ถือเอาของบางอย่างเพื่อใช้เป็นมีด บางอย่างเพื่อใช้เป็น
ไม้เท้าเป็นต้น ควรอยู่. ส่วนว่าเครื่องอาวุธที่เขาถวายว่า ขอท่านจงรับ
อาวุธนี้ไว้ ภิกษุจะรับแม้ทั้งหมดด้วยตั้งว่า เราจักทำให้เสียหายแล้ว
กระทำให้เป็นกัปปิยภัณฑ์ดังนี้ควรอยู่.
เครื่องจับสัตว์ มีแหทอดปลาและข่ายดักนกเป็นต้นก็ดี เครื่อง
ป้องกันลูกศร มีโล่และตาข่ายเป็นต้นก็ดี เป็นอนามาสทุกอย่าง.
ก็บรรดาเครื่องดักสัตว์ และเครื่องป้องกันลูกศรที่ได้มาเพื่อเป็นเครื่อง
ใช้สอย ทีแรก ตาข่ายภิกษุจะถือเอาด้วยตั้งใจว่า เราจะผูกขึงไว้หรือพัน
เป็นฉัตรไว้เบื้องบนแห่งอาสนะ หรือพระเจดีย์ ควรอยู่. เครื่องป้องกัน
ลูกศรแม้ทั้งหมด ภิกษุจะรับไว้เพื่อใช้เป็นมูลค่าแห่งของ ก็สมควร.
เพราะว่า เครื่องป้องกันลูกศรนั้น เป็นเครื่องกันการเบียดเบียนจาก
คนอื่น ไม่ใช่เป็นเครื่องทำการเบียดเบียน ฉะนี้แล, จะรับโล่ด้วย
จงใจว่า เราจักทำเป็นภาชนะใส่ไม้สีฟัน ดังนี้ ก็ควร.
เครื่องดนตรีมีพิณและกลองเป็นต้น ที่ขึงด้วยหนัง เป็นอนามาส.
แต่ในกุรุนทีท่านกล่าวว่า ตัวกลอง (หนังชะเนาะขึ้นกลอง) ก็ดี ตัวพิณ

(สายขึงพิณ) ก็ดี รางเปล่าก็ดี* หนังเขาปิดไว้ที่ขอบปากก็ดี คันพิณก็ดี
เป็นอนามาสแม้ทั้งสิ้น. จะขึงเอง หรือให้คนอื่นเขาขึงก็ดี จะประโคม
เอง หรือให้คนอื่นเขาประโคมก็ดี ไม่ได้ทั้งนั้น. แม้เห็นเครื่องดนตรี
ที่พวกมนุษย์กระทำการบูชา แล้วทิ้งไว้ทีลานพระเจดีย์ อย่าทำให้เคลื่อน
ที่เลย พึงกวาดไปในระหว่าง ๆ. แต่ในมหาปัจจรี ท่านกล่าวว่า ในเวลา
เทหยากเยื่อ พึงนำไปโดยกำหนดว่าเป็นหยากเยื่อแล้ววางไว้ ณ ส่วนข้าง
หนึ่ง ควรอยู่. แม้จะรับไว้เพื่อใช้เป็นมูลค่าแห่งสิ่งของ ก็ควร. แต่ที่
ได้มาเพื่อต้องการจะใช้สอย จะถือเอาเพื่อต้องการทำให้เป็นบริขารนั้น ๆ
โดยตั้งใจอย่างนี้ว่า เราจักทำรางพิณและหุ่นกลองให้เป็นภาชนะใส่ไม้
สีฟัน หนังจักทำให้เป็นฝักมีด แล้วกระทำตามที่ตั้งใจอย่างนั้น ๆ
ควรอยู่.
เรื่องภรรยาเก่า มีอรรถชัดเจนทีเดียว. พึงทราบวินิจฉัยในเรื่อง
นางยักษิณี ดังนี้:- แม้ถ้าว่า ภิกษุถึงความเคล้าคลึงกายกับนางเทพี
ของท้าวปรนิมมิตวสวัดดี ก็ต้องถุลลัจจัยอย่างเดียว.
เรื่องบัณเฑาะก์ และเรื่องหญิงหลับ ปรากฏแล้วแล.
*สารัตถทีปนี 3/36. แก้ว่า เภรีสงฺฆาโฏติ สงฺฆาฏํตจมฺมเภรี. วีณาสงฺฆาโฏติ สงฺฆาฏิ-
ตจมฺมวีณา. จมฺมวินทฺธานํ เภรีวีณานเมตํ อธิวจนํ ตุจฺฉโปกฺขรนฺติ อวินทฺธจมฺมํ เภรีโปกฺขรํ
วีณาโปกฺขรญฺจ. แปลว่า กลองที่ขึ้นหนังแล้ว ชื่อว่า เภรีสังฆาฏะ. พิณที่ขึงสายแล้ว ชื่อว่า วีณา
สังฆาฏะ. คำทั้งสองนี้ เป็นชื่อแห่งกลองที่ขึ้นหนังและพิณ -ที่ขึงสายแล้ว. ในที่บางแห่งว่า หนัง
ชะเนาะขึ้นกลอง ชื่อว่า เภรีสังฆาฏะ สายขึงพิณ ชื่อว่า วีณาสังฆาฏะ ก็มี ดังในวิมติวิโนทนีฏีกา
อ้างถึงอรรกถากุรุนที แก้ไว้ว่า เภรีอาทีนํ วินทฺโธปกรณสมุโห เภรีวีณาสงฺฆาโฏติ เวทิตพฺพํ.
พึงทราบว่า ประชุมเครื่องอุปกรณ์ขึ้นกลองเป็นต้น ชื่อว่า เภรีวีณาสังฆาฏะ. รางกลองและ
รางพิณที่ยังไม่ได้ขึ้นหนังและขึงสาย ชื่อว่า ตฺวฉโปกขระ. ผู้ชำระ.

พึงทราบวินิจฉัยในเรื่องหญิงตาย ดังนี้:- เป็นถุลลัจจัยในเวลา
พอจะเป็นปาราชิก นอกจากนั้น เป็นทุกกฏ.
พึงทราบวินิจฉัยในเรื่องดิรัจฉาน ดังนี้:- (เคล้าคลึงกาย) กับ
นางนาคมาณวิกาก็ดี กับนางสุบรรณมาณวิกาก็ดี กับนางกินรีก็ดี กับ
แม่โคก็ดี เป็นทุกกฏทั้งนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในเรื่องตุ๊กตาไม้ ดังนี้:- มิใช่กับไม้อย่างเดียว
เท่านั้น โดยที่สุดแม้ในรูปหญิงที่เขาเขียนจิตรกรรมไว้ ก็เป็นทุกกฏ
เหมือนกัน. เรื่องบีบบังคับภิกษุ มีอรรถกระจ่างทั้งนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในเรื่องสะพาน ดังนี้:- สะพานที่คนเดินได้
จำเพาะคนเดียวก็ตาม สะพานที่เป็นทางเกวียนข้ามก็ตามที เพียงแต่
ภิกษุกระทำประโยคด้วยตั้งใจว่า เราจักเขย่าสะพาน ดังนี้ จะเขย่าก็ตาม
ไม่เขย่าก็ตาม เป็นทุกกฏ เรื่องหนทาง ปรากฏชัดแล้วแล.
พึงทราบวินิจฉัยในเรื่องต้นไม้ ดังนี้:- ต้นไม้เป็นไม้ใหญ่ขนาด
เท่าต้นหว้าใหญ่ก็ตาม เป็นต้นไม้เล็กก็ตาม ภิกษุอาจเพื่อเขย่าก็ตาม
ไม่อาจเพื่อจะเขย่าก็ตาม เป็นทุกกฏ เพราะเหตุเพียงแต่มีความพยายาม
แม้ในเรื่องเรือ ก็มีนัย เช่นนี้เหมือนกัน.
พึงทราบวินิจฉัยในเรื่องเชือก ดังนี้:- ภิกษุอาจเพื่อจะดึงเชือก
ให้เคลื่อนจากฐานได้ เป็นถุลลัจจัยในเพราะเชือกนั้น. เชือกชนิดใดเป็น
เชือกเส้นใหญ่ ย่อมไม่เคลื่อนไหวจากฐาน แม้เพียงเล็กน้อยเป็นทุกกฏ
ในเพราะเชือกนั้น. แม้ในขอนไม้ก็มีนัยเช่นนี้ เหมือนกัน. จริงอยู่ แม้
ต้นไม้ใหญ่ที่ล้มลงบนฟื้นดิน ก็ทรงถือเอาแล้วด้วยทัณฑศัพท์เหมือนกัน
ในเรื่องขอนไม้นี้. เรื่องบาตรปรากฏชัดแล้วแล.

พึงทราบวินิจฉัยในเรื่องไหว้ ดังนี้:- หญิงผู้ประสงค์จะนวดเท้า
ทั้งสองไหว้ ภิกษุพึงห้าม พึงปกปิดเท้าไว้ หรือพึงนิ่งเฉยเสีย. ด้วย
ว่า ภิกษุผู้นิ่งเฉย แม้จะยินดี ก็ไม่เป็นอาบัติ.
เรื่องสุดท้าย ปรากฏชัดแล้วแล.
กายสังสัคควรรณนา ในอรรถกถาพระวินัย
ชื่อสมันตปาสาทิกา จบ ด้วยประการฉะนี้


สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 3
เรื่องพระอุทายี


[397] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระ-
อุทายีอยู่ในวิหารชายป่า สตรีเป็นอันมากได้พากันไปสู่อาราม มีความ
ประสงค์จะชมวิหาร จึงเข้าไปหาท่านพระอุทายีกราบเรียนว่า พวกดิฉัน
ประสงค์จะชมวิหารของพระคุณเจ้า เจ้าค่ะ
จึงท่านพระอุทายีเชิญสตรีเหล่านั้นให้ชมวิหารแล้ว กล่าวมุ่งวัจจ-
มรรค ปัสสาวมรรค ของสตรีเหล่านั้น ชมบ้าง ติบ้าง ขอบ้าง อ้อนวอน
บ้าง ถามบ้าง ย้อนถามบ้าง บอกบ้าง สอนบ้าง ด่าบ้าง สตรี เหล่านั้น
จำพวกที่หน้าด้าน ฐานนักเลง ไม่มียางอาย บ้างยิ้มแย้ม บ้างๆ พูดยั่ว
บ้างก็ซิกซี้ บ้างก็เย้ยกับท่านพระอุทายี ส่วนจำพวกที่มีความละอายใจ
ก็เลี่ยงออกไป แล้วโพนทะนาภิกษุทั้งหลายว่า ท่านเจ้าข้า คำนี้ไม่สมควร